1. ให้หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาติดตามการแจ้งเตือนภัย การสื่อสารความเสี่ยงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอนามัย สำนักงานการไฟฟ้า สื่อสารมวลชลในหลายช่องทาง และหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครู้เท่าทันอย่างใกล้ชิด

2. สถานศึกษาทุกแห่ง ขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคเรียนให้มีการจัดเวรยามทั้งกลางวันและกลางคืน กำหนดให้มีระบบการสื่อสารที่รวดเร็ว ฉับไว จัดให้มีแผนเผชิญเหตุ มีการซ้อมแผนเผชิญเหตุ มีระบบข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน เครือข่ายในพื้นที่ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

3. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาทุกแห่งแจ้งเตือนไปยังนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ดูแลสุขภาพและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น

3.1) เฝ้าระวังสุขภาพของกลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพในครอบครัว เช่น ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวโดยสังเกตอาการป่วย

3.2) เตรียมจัดเก็บบรรจุยาสามัญประจำบ้าน ยาที่ต้องใช้เป็นประจำ และอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวอื่นๆ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อรองรับหากมีการแจ้งให้อพยพออกจากพื้นที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

3.3) หากเกินน้ำท่วมเฉียบพลันและเกิดเหตุภายในบ้านเรือนให้รีบยกสะพานไฟภายในบ้านลงเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล หากมีการแจ้งให้อพยพ ให้รีบเคลื่อนย้ายออกจากบ้าน ตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งโดยเร่งด่วน

3.4) หลีกเลี่ยงการออกไปนอกตัวอาคารบ้านเรือน อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเกิดฝนตก ฟ้าคะนอง หรือฟ้าผ่า เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตจากฟ้าผ่า

3.5) หลีกเลี่ยงการเล่น หรือสัมผัสน้ำเน่าขัง อาจส่งผลให้เชื้อโรคเข้าตา ปาก จมูก และบาดแผล อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงตายได้ หากจำเป็นต้องสัมผัสน้ำเน่าเสียจากน้ำท่วมขังยาวนาน ต้องสวมรองเท้ายาง หรือชุดป้องกันน้ำท่วม และหลังสัมผัสน้ำเน่าเสียต้องล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันที

3.6) ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลโดยหมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงการกินอาหารค้างคืน หรืออาหารที่มีกลิ่นและรสชาติที่ผิดไปจากปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหาร และน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น และอย่าทิ้งขยะ อุจจาระ เศษอาหารลงในน้ำ ให้ใส่ถุงดำมัดปากถุงให้แน่น

3.7) ตรวจตรา และหมั่นสังเกต เฝ้าระวังสัตว์มีพิษและแมลงนำโรค กรณีการเกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง รวมทั้งแมลงก้นกระดก ที่อาจส่งผลทำให้เกิดอันตราย เจ็บปวดและเสียชีวิต

3.8) หากมีการอพยพไปในศูนย์อพยพผู้ประสพภัยน้ำท่วม ให้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 เคร่งครัดการปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์และสวมหน้ากากตลอดเวลา

4. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ใกล้อาคารเรียนหรือบริเวณโรงเรียนหรืออยู่ใกล้พื้นที่ป่า ให้ตัดแต่งต้นไม้ภายในโรงเรียน และจัดทำแนวป้องกันไฟฟ้า ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ให้มาช่วยเหลือสนันสนุน

5. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดี เพื่อความปลอดภัยสำหรับในการใช้ไฟฟ้า ดังนี้

5.1) อาคารสูงควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า

5.2) เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

5.3) ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

5.4) อย่าติดตั้งเสาอากาศวิทยุ หรือเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า

5.5) ตรวจสอบความมั่นคงเสาโทรทัศน์/วิทยุและป้ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้อยู่ในสภาพแข็งแรงเพื่อป้องกันการโค่นล้ม

5.6) งดการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชั่วคราว ในขณะที่มีพายุ – ฝน เช่น โทรทัศน์ และโทรศัพท์ นอกจากมีกรณีฉุกเฉิน

5.7) ติดตั้งสายดินที่อุปกรณ์ป้องกัน แผงเมนสวิตซ์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

5.8) เมื่อตัวเปียก พื้นแฉะ ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ควรเช็ดตัวให้แห้งก่อน และยืนบนพื้นที่แห้งและเป็นฉนวน

6. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาที่สามารถอำนวยความสะดวกใช้เป็นสถานที่อพยพและศูนย์พักพิงชั่วคราวกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ขอให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังความสามารถ

7. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินให้รีบรายงานผลกระทบและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องมายังกระทรวงศึกษาธิการ โดยผ่านช่องทาง Platform ของระบบ MOE Safety Center หรือช่องทางอื่นโดยตรงไปยังต้นสังกัดทันที